วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคการสอน




อดิศักดิ์ มหาวรรณ (2556) ได้รวบรวมไว้ว่า


1. วิธีสอนแบบเวทคณิต (Vedic Mathematics)
2. วิธีสอนแบบวรรณี
3. วิธีสอนด้วยกระบวนการสอนแบบเรียนเพื่อรู้แจ้ง
4. วิธีสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ
5. วิธีสอนแบบอุปมาร
6. วิธีสอนแบบอุปมาน
7. วิธีสอนตามระเบียบขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์
8. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา
9. วิธีสอนแบบเทคนิค 4 คำถาม
10. วิธีสอนแบบพัฒนารายบุคคล
11. วิธีสอนแบบค้นพบในกลุ่มย่อย
12. วิธีสอนที่มีกระบวนการสร้างความคิดรอบยอด
13. วิธีสอนการแก้ปัยหาแบบ 5 ขั้น
14. วิธีฝึกพัฒนาทักษะการบวกเลขในใจ
15. วิธีสอนแบบให้ตัวอย่างถูกต้องและตัวอย่างผิด กับการให้ตัวอย่างผิดกับตัวอย่างถูกอย่างเดียว
16. วิธีสอนแก้ปัญหาโจทย์
17. วิธีสอนแบบแผนผังต้นไม้ 5 ลำดับขั้นตอน
18. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD)
19. วิธีสอนแบบการสอนที่พัฒนามาจากสุลัดดาและคณะ
20. วิธีสอนโดยวิธีค้นพบ
21. วิธีสอนแบบจัดมโนมติล่วงหน้า
22. วิธีสอนแบบสอดแทรกมโนทัศน์ทางจริยธรรม
23. วิธีสอนตามลำดับขั้นการเรียนรู้
24. วิธีสอนแบบเรียนปนเล่น
25. วิธีสอนแบบดอลเซียนี
26. วิธีสอนแบบ สสวท.
27. วิธีสอนตามเทคนิคการสอนของสตีฟ
28. วิธีสอนแบบวิเคราะห์
29. วิธีสอนของนุชุม
30. วิธีสอนแบบการเรียนแบบสืบสวน สอบสวน
31. วิธีสอนตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของเลนฮาร์ทและกรีโน
32. วิธีสอนตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโบลยา
33. วิธีสอนโดยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
34. วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
35. วิธีสอนแบบกลุ่มยอย
36. วิธีสอนแบบการเรียนแบบร่วมมือ
37. วิธีสอนโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยแบบประยุกต์
38. วิธีสอนโดยใช้เพลง
39. วิธีสอนโดยใช้การกำบังตน
40. วิธีสอนโดยใช้กลุ่มพลังเล็กๆ
41. วิธีสอนโดยบทเรียนโปรแกรมประกอบเครื่องสอนอย่างง่าย
42. วิธีสอนโดยใช้ชุดการคิดคำนวณ
43. วิธีสอนโดยการใช้มิติสัมพันธ์
44. วิธีสอนโดยการทำแบบฝึกหัดคิดเลขเร็วเสริมบทเรียน
45. วิธีสอนโดยเทคนิคเติมศูนย์ที่บัตรผลคูณ
46. วิธีสอนโดยใช้เกม และบัตรงานเสริมการเรียน
47. วิธีสอนโดยใช้บทเรียนที่มีสื่อประสม










  • วุฒิศักดิ์ บุญแน่น (2558)  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคนิคการสอนมีดังนี้

1. วิธีสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)
2.วิธีการสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization) 
3.  วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ  (Role Playing) 
4. วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง  (Case)
5. วิธีการสอนโดยใช้เกม  (Game) 
6  วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง  (Simulation)
7. วิธีการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
8.  การสอนแบบค้นพบความรู้
9.  วิธีการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagne’s Instructional Model)
10. การสอนแบบปฏิบัติการ
11. การสอนโดยใช้โสตทัศนูปกรณ์
12. การสอนแบบให้ผู้เรียนเสนอรายงานในชั้นเรียน
13. การสอนโดยใช้คำถาม
14. เทคนิคการใช้ผังกราฟิก  ( graphic  organizers )  
15. การสอนแบบโครงการ (The Project Approach)
16. การสอนแบบมอนเตสซอรี่
 17. การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
18. นวัตกรรมกระบวนการกลุ่มแบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
19. การเรียนการสอนแบบบูรณาการ
20.  วิธีสอนแบบขั้นทั้ง ของอริยสัจสี่
21. การจัดการเรียนการสอนแบบประสบการณ์ (Experiential Learning )














mooBo (2557) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคนิคการสอนมีดังนี้



1. การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย (Lecture Method)
2. การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Method)
3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)
4. การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method)            
5. การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
6. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
7. การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation)
8. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game)
9. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process)
10. การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
11. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค (Team Games Tournament)
12. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ (Jigsaw)
13. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration)
14. การจัดการเรียนรู้แบบ Storyline (Storyline)
15. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)









 สรุป

1. วิธีสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)
2. วิธีการสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization) 
3. วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ  (Role Playing) 
4. วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง  (Case)
5. วิธีการสอนโดยใช้เกม  (Game) 
6  วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง  (Simulation)
7. วิธีการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
8. วิธีการสอนแบบค้นพบความรู้
9. วิธีการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagne’s Instructional Model)
10.การสอนแบบปฏิบัติการ
11. การสอนโดยใช้โสตทัศนูปกรณ์
12. การสอนแบบให้ผู้เรียนเสนอรายงานในชั้นเรียน
13.การสอนโดยใช้คำถาม
14. เทคนิคการใช้ผังกราฟิก  ( graphic  organizers )  
15. การสอนแบบโครงการ (The Project Approach)
16. การสอนแบบมอนเตสซอรี่
17. การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
18. นวัตกรรมกระบวนการกลุ่มแบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
19. วิธีสอนโดยการใช้มิติสัมพันธ์
20. วิธีสอนแบบขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจสี่
21. การจัดการเรียนการสอนแบบประสบการณ์ (Experiential Learning )
22. การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย (Lecture Method)
23. การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Method)
24. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)
25. การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method)  
26. วิธีสอนโดยเทคนิคเติมศูนย์ที่บัตรผลคูณ
27. วิธีสอนโดยใช้เกม และบัตรงานเสริมการเรียน
28. วิธีสอนโดยใช้บทเรียนที่มีสื่อประสม          
29. วิธีสอนโดยการทำแบบฝึกหัดคิดเลขเร็วเสริมบทเรียน
30. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process)
31. การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
32. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค (Team Games Tournament)
33. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ (Jigsaw)
34. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration)
35. การจัดการเรียนรู้แบบ Storyline (Storyline)
36. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
37. วิธีสอนแบบเวทคณิต (Vedic Mathematics)
38. วิธีสอนแบบวรรณี
39. วิธีสอนด้วยกระบวนการสอนแบบเรียนเพื่อรู้แจ้ง
40. วิธีสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ
41. วิธีสอนแบบอุปมาร
42. วิธีสอนแบบอุปมาน
43. วิธีสอนตามระเบียบขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์
44. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา
45. วิธีสอนแบบเทคนิค 4 คำถาม
46. วิธีสอนแบบพัฒนารายบุคคล
47. วิธีสอนแบบค้นพบในกลุ่มย่อย
48. วิธีสอนที่มีกระบวนการสร้างความคิดรอบยอด
49. วิธีสอนการแก้ปัยหาแบบ 5 ขั้น
50. วิธีฝึกพัฒนาทักษะการบวกเลขในใจ
51. วิธีสอนแบบให้ตัวอย่างถูกต้องและตัวอย่างผิด กับการให้ตัวอย่างผิดกับตัวอย่างถูกอย่างเดียว
52. วิธีสอนแก้ปัญหาโจทย์
53. วิธีสอนแบบแผนผังต้นไม้ 5 ลำดับขั้นตอน
54. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD)
55. วิธีสอนแบบการสอนที่พัฒนามาจากสุลัดดาและคณะ
56. วิธีสอนโดยวิธีค้นพบ
57. วิธีสอนแบบจัดมโนมติล่วงหน้า
58. วิธีสอนแบบสอดแทรกมโนทัศน์ทางจริยธรรม
59. วิธีสอนตามลำดับขั้นการเรียนรู้
60. วิธีสอนแบบเรียนปนเล่น
61. วิธีสอนแบบดอลเซียนี
62. วิธีสอนแบบ สสวท.
63. วิธีสอนตามเทคนิคการสอนของสตีฟ
64. วิธีสอนแบบวิเคราะห์
65. วิธีสอนของนุชุม
66. วิธีสอนแบบการเรียนแบบสืบสวน สอบสวน
67. วิธีสอนตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของเลนฮาร์ทและกรีโน
68. วิธีสอนตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโบลยา
69. วิธีสอนโดยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
70. วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
71. วิธีสอนแบบกลุ่มยอย
72. วิธีสอนแบบการเรียนแบบร่วมมือ
73. วิธีสอนโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยแบบประยุกต์
74. วิธีสอนโดยใช้เพลง
75. วิธีสอนโดยใช้การกำบังตน
76. วิธีสอนโดยใช้กลุ่มพลังเล็กๆ
77. วิธีสอนโดยบทเรียนโปรแกรมประกอบเครื่องสอนอย่างง่าย
78. วิธีสอนโดยใช้ชุดการคิดคำนวณ













ที่มา

อดิศักดิ์ มหาวรรณ.(2556).https://sites.google.com/a/web1.dara.ac.th/daramath/sara-na-ru-khnitsastr/5thekhnikhkarsxnkhnitsastrniprathesthiy.[ออนไลน์] 20 สิงหาคม 2561.



วุฒิศักดิ์ บุญแน่น.(2558).https://sites.google.com/site/acadedmsu/xeksar-fay-wichakar.[ออนไลน์] 20 สิงหาคม 2561.



mooBo.(2557).http://blog.eduzones.com/moobo/132517

.[ออนไลน์] 20 สิงหาคม 2561.

















ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ 12 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ


sirirat boonchuprasert (2015) ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ไว้ว่า

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning)
หลักการ
1. การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย มีสมาชิก 3-6 คน สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถที่แตกต่างกัน สมาชิกช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
2. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบด้วย การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน,
การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด, ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน, การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย, และ การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มเพื่อให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงาน

การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย กำหนดจุดมุ่งหมาย ขนาดกลุ่ม องค์ประกอบของกลุ่ม บทบาทของสมาชิก สถานที่ และงานที่กำหนดให้ผู้เรียนทำ
2. ด้านการสอน ประกอบด้วย อธิบายและชี้แจงการทำงานของกลุ่ม เกณฑ์การประเมิน การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน การช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม การตรวจสอบความรับผิดชอบและหน้าที่ของแต่ละคน และพฤติกรรมที่ความหวัง
3. ด้านการควบคุมกำกับและการช่วยเหลือกลุ่ม ประกอบด้วย ดูแลให้สมาชิกกลุ่มปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม ให้ข้อมูลป้อนกลับและการเสริมแรง ช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม และสรุปการเรียนรู้
4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และวิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ
               ราชบัณฑิตสถาน (2551) ได้ให้ความหมาย ว่า เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดหลักให้ผู้เรียนช่วยกันเรียนรู้โดยพึ่งพากัน มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดใช้ทักษะทางสังคมในการทำงานร่วมกัน มีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานกลุ่มและมีการตรวจสอบผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
วิกิพีเดีย ได้ให้ความหมายของ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือโดยการแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน โดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพากัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวมเพื่อให้
ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งตรงข้ามกับการเรียน
ที่เน้นการแข่งขันและการเรียนตามลำพัง

                Blackcom (1992) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จโดยผู้เรียนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความสามารถต่างกัน ใช้กิจกรรมการเรียนที่หลากหลาย ในการปรับปรุงความเข้าใจในเนื้อหาวิชา สมาชิกแต่ละคนในทีมจะไม่เพียงจะต้องมีความรับผิดชอบแต่ต้องช่วยเหลือกันในกลุ่ม ซึ่งสร้างบรรยากาศของสัมฤทธิ์ผลในการเรียนอีกด้วย


                 ทิศนา (2552) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือคือ การเรียนที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุด โดยอาศัยการร่วมมือกันช่วยเหลือกันและแลกเปลี่ยนความรู้กัน ระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน ความแตกต่างของรูปแบบแต่ละรูปแบบจะอยู่ที่เทคนิคในการศึกษา เนื้อหาสาระและวิธีการเสริมแรงและการให้รางวัลเป็นประการสำคัญ


                   สรุป การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งในงานวิจัยนี้เรียก Cooperative Learning ว่า การเรียนแบบร่วมมือ


                   ไพฑูรย์ และคณะ (2550) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือว่า เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการร่วมมือร่วมใจในการศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งถือเป็นความสำเร็จของกลุ่ม เน้นการทำงาน คละความสามารถของสมาชิก ดังนั้นการกระทำใด ๆ ของสมาชิกย่อมมีผล กระทบต่อกลุ่มและสมาชิกคนอื่น ๆ


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Collaborative Learning)
และทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning)

รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
Johnson, Johnson and Stann (2000) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง มีทั้งหมด 8 รูปแบบ ได้แก่
1. รูปแบบแอลที (LT) หรือ Learning Together
2. รูปแบบเอ.ซี. (AC) หรือ Academic Controversy
3. รูปแบบเอส.ที.เอ.ดี (STAD) หรือ Student-Team-Achievement- Divisions
4. รูปแบบที.จี.ที (TGT) หรือ Team-Games-Tournaments
5. รูปแบบจี.ไอ (GI) หรือ Group Investigation
6. รูปแบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw)
7. รูปแบบที.เอ.ไอ (TAI) หรือ Teams-Assisted-Individualization
8. รูปแบบซี.ไอ.อาร์.ซี (CIRC) หรือ Cooperative Intergrated Reading and Composition

               ทั้ง 8 รูปแบบ ให้ผลกระทบในด้านบวกต่อสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน ซึ่งสอดคล้องกับ ทิศนา (2548) กล่าวว่าทุกรูปแบบของการเรียนแบบร่วมมือต่างมีกระบวนการเรียนรู้ที่พึ่งพาและเกื้อกูลกัน สมาชิกกลุ่มมีการปรึกษาหารือและปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและสามารถตรวจสอบได้ สมาชิกกลุ่มต้องใช้ทักษะการทำงานกลุ่มและการสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานหรือการเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อประสิทธิภาพและคุณภาพของการทำงานร่วมกัน ในส่วนที่ต่างกันนั้นมักจะเป็นความแตกต่างในเรื่องของวิธีการจัดกลุ่ม วิธีการในการพึ่งพากัน วิธีการทดสอบ กระบวนการในการวิเคราะห์กลุ่ม บรรยากาศของกลุ่ม โครงสร้างของกลุ่ม บทบาทของผู้เรียน ผู้นำกลุ่มและครู


ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ทิศนา (2548) ได้แบ่งกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ใช้อยู่โดยทั่วไป มี 3 ประเภท ดังนี้
1. กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ (Formal Cooperative Learning Group) กลุ่มประเภทนี้ครูจัดขึ้นโดยการวางแผน จัดระเบียบ กฎเกณฑ์ วิธีการและเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกันเรียนรู้สาระต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นหลาย ๆ ชั่วโมงติดต่อกัน หรือหลายสัปดาห์ติดต่อกัน จนกระทั่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่กำหนด

                Blackcom (1992) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จโดยผู้เรียนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความสามารถต่างกัน ใช้กิจกรรมการเรียนที่หลากหลาย ในการปรับปรุงความเข้าใจในเนื้อหาวิชา สมาชิกแต่ละคนในทีมจะไม่เพียงจะต้องมีความรับผิดชอบแต่ต้องช่วยเหลือกันในกลุ่ม ซึ่งสร้างบรรยากาศของสัมฤทธิ์ผลในการเรียนอีกด้วย


2. กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ (Informal Cooperative Learning Group) กลุ่มประเภทนี้ ครูจัดขึ้นเฉพาะกิจเป็นครั้งคราว โดยสอดแทรกอยู่ในการสอนปกติอื่น ๆ โดยเฉพาะการสอนแบบบรรยาย ครูสามารถจัดกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือสอดแทรกเข้าไปเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมุ่งความสนใจ หรือใช้ความคิดเป็นพิเศษในสาระบางจุด


3. กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร (Cooperative Base Group) หรือ Long – Term Group กลุ่มประเภทนี้ เป็นกลุ่มการเรียนรู้ที่สมาชิกกลุ่มมีประสบการณ์การทำงาน / การเรียนรู้ร่วมกันมานานมากกว่า 1 หลักสูตร หรือภาคการศึกษา จนกระทั่งเกิดสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้ม สมาชิกกลุ่มมีความผูกพัน ห่วงใย ช่วยเหลือกันและกันอย่างต่อเนื่อง ในการเรียนรู้แบบร่วมมือ มักจะมีกระบวนกาดำเนินงานที่ต้องทำเป็นประจำ เช่น การเขียนรายงาน การเสนอผลงานของกลุ่ม การตรวจผลงาน เป็นต้น ในกระบวนการที่ใช้หรือดำเนินการเป็นกิจวัตรในการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้ เรียกว่า Cooperative Learning Scripts ซึ่งหากสมาชิกกลุ่มปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะเกิดเป็นทักษะที่ชำนาญในที่สุด


แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมกัน
               ราชบัณฑิตสถาน (2551) เรียกว่า การร่วมกันเรียนรู้ หรือการเรียนรู้ร่วมกัน หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากที่บุคคลรวมตัวกันทำงานอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีเสมอกัน โดยเน้นการรวมพลังและกระบวนการทำงานที่ดี
Gokhlae (1995) เห็นว่า CL คือ วิธีการสอนที่เน้นกระบวนการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กเพื่อจุดหมายร่วมกัน ผู้เรียนจะมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกัน เพื่อผลสำเร็จร่วมกัน
                Collaborative learning online (2008) กล่าวว่าการเรียนรู้แบบร่วมกัน ไม่ปรากฏในการเรียนรู้รูปแบบเดิมที่ผู้เรียนมีอิสระในการทำงาน งานเรียนและมีความรับผิดชอบในตัวเอง ซึ่งในการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิมโดยทั่วไปเป็นการปฏิบัติด้วยตัวเองและ ทำรายงานดังนั้นจึงไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกันกับผู้เรียนอื่น

               ไพฑูรย์ และคณะ (2550) ได้ให้ความหมายของการเรียนแบบร่วมแรงรวมพลัง (Collaborative Learning) ว่าการเรียนรู้นี้เป็นวิธีการเรียนการสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกันเน้นการมีความสนใจร่วมกันของสมาชิกมากกว่าระดับความสามารถ บทบาทของสมาชิกทุกคนมีความชัดเจนและทำงานไปพร้อม ๆ กัน ศึกษาค้นคว้า ปฏิบัติงานและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเรียนแบบนี้เน้นการยอมรับในบทบาทหน้าที่ของกันและกัน รวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันได้ตลอดเวลา


               สรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning) หมายถึง การเรียนที่เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม ที่สมาชิกในกลุ่มทำงานรับผิดชอบร่วมกัน การยอมรับบทบาทหน้าที่ของกันและกันและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสมาชิกด้วยกันได้ ซึ่งในงานวิจัยนี้ เรียกว่า การเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning)
หลักเกณฑ์ของการเรียนรู้แบบร่วมกัน


Johnson, Johnson & Smith (อ้างถึงใน Collaborative learning online, 2008) ได้สรุปหลักการเรียนรู้แบบร่วมกันที่เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ไว้ดังนี้
1. องค์ความรู้คือการสร้างการค้นคิดและเปลี่ยนสภาพโดยผู้เรียน ผู้สอนสร้างเงื่อนไขที่ผู้เรียนสามารถสร้างความหมายจากวัสดุในการเรียนโดยใช้กระบวนการผ่านโครงสร้างทางปัญญาและเก็บไว้ในความจำระยะยาวเพื่อจะสามารถนำกลับมาใช้
2. ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการสร้างองค์ความรู้ การเรียนคือสิ่งที่ผู้เรียนทำไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ผู้เรียน ผู้เรียนไม่ใช่คอยรับความรู้จากครูหรือหลักสูตร ผู้เรียนจะต้องมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนโดยใช้โครงสร้างทางปัญญาหรือสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาใหม่
3. การสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสมรรถนะและความสามารถด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน
4. การศึกษาคือการติดต่อระหว่างบุคคลของผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนในการทำงาน ร่วมกัน
5. ข้อ ก-ง สามารถใช้แทนด้วยบริบทของการร่วมมือกัน
6. การสอนจะสมบูรณ์และมีประโยชน์ตามทฤษฎีจะต้องพิจารณาที่ผู้สอนว่าได้มีการอบรมทักษะและกระบวนการของการสอนแบบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

การออกแบบการเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning)

                 อุดม (2551) กล่าวว่า การออกแบบการเรียนรู้แบบร่วมกัน ต้องทำให้เกิดความสะดวกระหว่างนักเรียนกับนักเรียน นักเรียนกับครู ครูกับครู ห้องเรียนกับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ และชุมชน การเรียนต้องเป็นอิสระ ผู้เรียนได้กระทำเองปฏิบัติเอง มีการสื่อสารทางไกลกับนักศึกษาอื่น การสื่อสารการเรียนแบบร่วมกัน (Collaborative) ซึ่งสอดคล้องกับ Eugenia M. W. Ng and Ada W. W. Ma (2002) กล่าวว่า การปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนช่วยสนับสนุนการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งง่ายและสะดวกในการติดต่อไปยังผู้เรียนคนอื่น ๆ ซึ่งมีความสะดวกในเรื่องเวลาและสถานที่อีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับการสื่อสารแบบอื่น นอกจากนี้ เว็บยังสามารถเก็บข้อความข่าวสาร ที่ผู้ใช้สามารถนำมาสร้างใหม่ สามารถนำมาอ้างอิง เปลี่ยนและเก็บบันทึกระหว่างมีปฏิสัมพันธ์กันได้โดยง่าย และผลที่ได้คือ ผู้เรียนที่มีพื้นหลังที่แตกต่างกันและสถานที่ต่างกันสามารถแบ่งปันระหว่างกัน และประสบการณ์กลุ่มและการออกความเห็นร่วมกันในการแก้ปัญหาในกระบวนการเรียน








kanyarat kongdum (2011) ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ไว้ว่า

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Collaborative Learning)   
- ทฤษฎีการเรียนรู้
              ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถต่างกันประมาณ 3-6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้คือ สลาวินเดวิท  จอห์นสันและโรเจอร์ จอห์นสัน กล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นมิติที่มักจะถูกละเลยหรือมองข้ามไปทั้งๆ มีผลวิจัยชี้ชัดเจนว่า ความรู้สึกของตนเองต่อผู้เรียน ต่อโรงเรียนครูและเพื่อนร่วมชั้นมีผลต่อการเรียนรู้มาก จอห์นสันและจอห์นสันกล่าวว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1. ลักษณะแข่งขันกันในการเรียนรู้
2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน
3. ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้

1. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้จะเป็นแบบร่วมมือได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญครบ 5 ประการดังนี้
1.1     การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน คือแต่ละคนในกลุ่มต้องรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนและในขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นๆด้วย เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
1.2     การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด การที่สมาชิกในกลุ่มมีการพึ่งพาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันในทางที่จะช่วยให้กลุ่มบรรลุเป้าหมาย
1.3      ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน กลุ่มจำเป็นต้องมีระบบการตรวจสอบงานทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่
1.4     การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย การเรียนรู้แบบร่วมมือจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยทักษะที่สำคัญๆ หลายประการซึ่งครูควรสอนและฝึกให้แก่ผู้เรียนเพื่อช่วยให้ดำเนินงานไปได้
1.5     การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม การเรียนรู้แบบร่วมมือจะต้องมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อช่วยให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น

2. ผลดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
2.1 มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น เป็นผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีผลงานมากขึ้น
2.2 มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น การเรียนรุ้แบบร่วมมือช่วยให้ผู้เรียนมีน้ำใจนักกีฬามากขึ้น ใส่ใจในผู้อื่นมากขึ้นเห็นคุณค่าของความแตกต่าง ความหลากหลาย การประสานสัมพันธ์และการรวมกลุ่ม
2.3 มีสุขภาพจิตดี การเรียนรู้แบบร่วมมือ ทำให้ผู้เรียนมีสุขภาพจิตดีขึ้น มีความรู้สึกที่เกี่ยวกับตนเองและมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น

3. ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
3.1 กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ ครูจัดขึ้นโดยการวางแผน จัดระเบียบ กฎเกณฑ์  วิธีการและเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกันเรียนรู้สาระต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
3.2 กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ กลุ่มประเภทนี้จัดขึ้นเฉพาะกิจชั่วคราว โดยสอดแทรกอยู่ในการสอนปกติอื่นๆ
3.3 กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร กลุ่มประเภทนี้เป้นกลุ่มการเรียนรู้ที่สมาชิกกลุ่มมีประสบการณ์การทำงาน การเรียนรู้ร่วมกันจนเกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น

- การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ครูสามารถนำหลักการของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ไปจัดการเรียนการสอนของตนได้ โดยการพยายามจัดกลุ่มการเรียนรู้ให้มีองค์ประกอบครบ 5 ประการ การวางแผนบทเรียนและจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน
1.1 กำหนดจุดมุ่งหมายของบทเรียนทั้งด้านความรู้และทักษะกระบวนการต่างๆ
1.2 กำหนดขนาดของกลุ่ม
1.3 กำหนดองค์ประกอบของกลุ่มหมายถึงการจัดผู้เรียนเข้ากลุ่ม ซึ่งอาจทำได้โดยการสุ่ม
1.4 กำหนดบทบาทของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม
1.5 จัดสถานที่ให้เหมาะสมในการทำงาน
1.6 จัดสาระ วัสดุหรืองานที่จะให้ผู้เรียนทำ วิเคราะห์สาระ/ งาน/หรือวัสดุที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
2. ด้านการสอน
ครูควรมีการเตรียมกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันดังนี้
2.1 อธิบายชี้แจงเกี่ยวกับงานของกลุ่ม
2.2 อธิบายเกณฑ์การประเมินผลงาน
2.3 อธิบายถึงความสำคัญ และวิธีการสอนของการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
2.4 อธิบายวิธีการช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม
2.5 อธิบายอธิบายถึงความสำคัญและวิธีการในการตรวจสอบความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย
2.6 ชี้แจงพฤติกรรมที่คาดหวัง
 3. ด้านการควบคุมกำกับ
3.1 ดูแลให้สมาชิกกลุ่มมีการดูแลกันอย่างใกล้ชิด
3.2 สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม ว่าสมาชิกกลุ่มมีความเข้าใจในงานหรือบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรือไม่
3.3 เข้าไปช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม
3.4 สรุปการเรียนรู้
4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
4.1 ประเมินผลการเรียนรู้
4.2 วิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน











016Inthuworn (2016) ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ไว้ว่า

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)
อัชรา เอิบสุขสิริ. (2550 : 94-96) ความหมายและแนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมมือCooperative and Collaborative Learning หรือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เพราะมีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือ ข้อแตกต่างระหว่าง Cooperative Learning กับCollaborative Learning อยู่ที่ระดับความร่วมมือที่แตกต่างกัน Sunyoung, J. (2003) ได้สรุปว่า ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning คือ เรื่องโครงสร้างของงานอัน ได้แก่ Pre – Structure , Task – Structure และ Content StructureโดยCooperative Learning จะมีการกำหนดโครงสร้างล่วงหน้ามากกว่า มีความเกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างไว้เพื่อคำตอบที่มีขอบเขตจำกัด ชัดเจน และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ชัดเจนมากกว่า ส่วน Collaborative Learning มีการจัดโครงสร้างล่วงหน้าน้อยกว่า เกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างแบบหลวมๆ (ill – Structure Task) เพื่อให้ได้คำตอบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว  ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเรียนการสอนออนไลน์มักนิยมใช้คำว่าCollaborative Learning Office of Educational Research and Improvement (1992) ได้ให้ความหมายของ Cooperative Learning ว่าเป็นกลยุทธ์ทางการสอนที่ประสบผลสำเร็จในทีมขนาดเล็ก ที่ซึ่งนักเรียนมีระดับความสามารถแตกต่างกัน ใช้ความหลากหลายของกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อการปรับปรุงความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชา สมาชิกแต่ละคนในทีมมีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่เฉพาะการเรียนรู้แต่ยังรวมถึงการช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมในการเรียนรู้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างบรรยากาศเพื่อให้บังเกิดการบรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้ด้วย
เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและ ร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
นอกจากนั้นแล้วทฤษฎีการเรียนรู้ยังสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐาน
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
 - กลุ่มความรู้ (Cognitive)

               รังสิมา วงษ์ตระกูล. (https://www.gotoknow.org/posts/401180) ได้กล่าวถึงแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า  การเรียนรู้แบบร่วมมือกันหรือการร่วมมือกันเรียนรู้ เป็นแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมมือกันเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย จึงถือได้ว่าการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหนึ่ง ซึ่งนักการศึกษาที่สำคัญในวงการศึกษาได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนี้

          จอห์นสัน และจอห์นสัน ได้ให้ความรู้ของการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า  การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่มผู้เรียนซึ่งต้องการการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน(ล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จร่วมกัน),ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน,การใช้ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(การติดต่อสื่อสาร,ความเชื่อมั่น,ความเป็นผู้นำ,การตัดสินใจ,การลดความขัดแย้ง),การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด,และกระบวนการ(สิ่งที่สะท้อนกลับคือประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นอย่างไรและดีขึ้นมากแค่ไหน(Johnson และ Johnson. Online.  2009)

           นอกจากของจอห์นสัน  ยังมีนักการศึกษาของไทยเราได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้อีกเช่น ของอาจารย์สุวิทย์ และอาจารย์อรทัย มูลคำได้ให้ความหมายไว้ว่า       การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง กระบวนการการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด

          จากความหมายข้างต้นของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสามารถจะสรุปได้ว่า  การเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ตามความสามารถของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฝึกความรับผิดชอบร่วมกัน และการใช้ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อทำให้กลุ่มประสบความสำเร็จร่วมกันตามเป้าหมายที่กำหนดไว้






สรุป

             ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถต่างกันประมาณ 3-6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม ให้นักเรียนได้ร่วมมือกันเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายเป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่มผู้เรียนซึ่งต้องการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน(ล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จร่วมกัน),ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน,การใช้ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(การติดต่อสื่อสาร,ความเชื่อมั่น,ความเป็นผู้นำ,การตัดสินใจ,การลดความขัดแย้ง),การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด,และกระบวนการ(สิ่งที่สะท้อนกลับคือประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นอย่างไรและดีขึ้น



ที่มา

sirirat boonchuprasert.(2015).https://prezi.com/onbvrds3ld51/collaborative-learning/.[ออนไลน์] 17 กรกฎาคม 2561.



kanyarat kongdum.(2011).http://krupitui11.blogspot.com/p/theory-of-co-operative-or-collaborative.html.[ออนไลน์] 17 กรกฎาคม 2561.


016Inthuworn.(2016).http://banggokyaicity.blogspot.com/2016/09/theory-of-cooperative-or-collaborative.html.[ออนไลน์] 17 กรกฎาคม 2561.