วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ 11 ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน



 jintana kujapan (2012) ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ไว้ว่า

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)
                 ทิศนา แขมมณี. (2554:หน้า96)  กล่าวว่าทฤษฎีนี้มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือ ศาสตราจารย์  ซีมัวร์     เพ เพอร์ท แนวความคิดของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนได้มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

                 สุรางค์ โคว้ตระกูล กล่าวว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) แนวคิดของทฤษฏีนี้คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

              ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486)   แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   

สรุป ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)
             ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน เรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน ด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในหลายๆด้านตามที่ผู้เรียนมีความชอบและความสนใจในการเรียนวิชาต่างๆที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความถนัด ความรู้ ความสามารถ ของผู้เรียนเป็นหลัก









Kanchalita Jalerphon (2016) ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ไว้ว่า

            ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เกิดวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1928 ที่แอฟริกาใต้
เป็นนักคณิตศาสตร์และนักการศึกษาที่ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์(Massachusetts Institute of Technology) หรือสถาบันเอ็มไอที (MIT)เขาเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกปัญญาประดิษฐ์โดยเสนอแนวคิดเรื่องความรู้ของเครื่องจักร และได้สร้างภาษาโลโก (LOGO)

            ที่มาของทฤษฎีConstructionismประสบการณ์จากการทำงานร่วมกัน Piaget นักจิตวิทยาการเรียนรู้เขาได้นำเอาสิ่งที่ Piaget เรียนรู้มาเป็นพื้นฐานในการคิดและสร้างทฤษฎีทางการศึกษา เขาเชื่อว่า วิธีมองการศึกษาขึ้นอยู่กับวิธีการที่เรามองตัวความรู้และความรู้เป็นสิ่งที่เด็กต้องสร้างขึ้นเอง


ทฤษฎีนี้มาจากพื้นฐาน 2 ประการ คือ
ประสบการณ์จากการเป็นอาจารย์ที่ MITทำให้เขาตระหนักว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่มีพลังอย่างยิ่งทำให้เด็กๆสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตัวเอง”Constructionismประวัติของผู้คิดค้นทฤษฎีศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพิร์ต (Seymour Papert)ฉะนั้นการเรียนรู้ที่ดีมิได้เกิดจากการค้นพบวิธีการสอนที่ดีกว่าของครูแต่เป็นการให้โอกาสในการสร้างสรรค์แก่ผู้เรียนมากกว่า
จากประสบการณ์เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กและศักยภาพของเครื่องมือ ทำให้เขาพบว่าการจัดการศึกษานั้น
ไม่ได้นำธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็กมาใช้ให้เป็นประโยชน์ แต่มุ่งเน้นไปที่การสอนสรุปแนวคิดของทฤษฎีนี้ คือ
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองหากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเอง
ไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ LOGOช่วยให้เด็กสามารถใช้คณิตศาสตร์ในลักษณะของสื่อเพื่อสร้าง สำหรับใช้ในการสร้างภาพ สร้างสิ่งเคลื่อนไหว ดนตรี เกมและสิ่งจำลอง ลงบนจอคอมพิวเตอร์

เครื่องมือที่ใช้ส่งเสริมการเรียนรู้


-โปรแกรมคอมพิวเตอร์ LOGO
-โปรแกรม LEGO-LOGO
-ภาษา LOGO(Logo programming language)
-ภาษาโปรแกรมเชิงการใช้งาน(Functional Programming Language)โดยมีรากฐานมาจากภาษาลิสป์ เพื่อใช้ศึกษาในเรื่องการเขียนโปรแกรม

                ภาษาโลโกมักจะถูกเรียกด้วยชื่อ"เต่าโลโก"โปรแกรม LEGO TC LOGOทำให้เด็กสามารถเขียนโปรแกรมง่ายๆเพื่อควบคุมชิ้นส่วนเลโก้ที่พวกเขาสร้างขึ้นเองโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ LOGO + ตัวต่อเลโก้ (Lego)พัฒนา
การนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนส่งเสริมสภาพแวดล้อมของผู้เรียนให้เกิดความพร้อมในการจัดการกับโครงสร้างทางการเรียนรู้วางแผนกิจกรรมการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้มีข้อเตือนใจที่สําคัญ คือ ไม่ลืมความแตกต่างของ แต่ละ บุคคลเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแนวทางของทฤษฎี Constructionismโดยเน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการสํารวจตนเองเพื่อการพัฒนาโดยให้ทักษะการแสวงหาความรู้ทักษะการศึกษาด้วยตนเองการฝึกปฏิบัติ ทักษะการคิดและจิตนาการสร้างสรรค์ชิ้นงานและทักษะด้านการจัดการและการทํางานป็นทีม 











นางสาว ชุติมา สดเจริญ(2013) ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ไว้ว่า

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน constructionism 
หลักการ 
             การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองด้วยตนเองของผู้เรียน ผู้เรียนที่มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะได้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรม การสร้างความรู้ในตนเองของผู้เรียน เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา  ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน มีความคงทน ไม่ลืมง่าย และและสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจความคิดของตนเองได้ดี ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด

การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

   1.  การใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระการเรียนรู้และผลงาน
        ต่าง ๆ ด้วยตนเอง
   2.  การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตาม
        ความสนใจ








สรุป

                แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

                  ที่มาของทฤษฎีConstructionismประสบการณ์จากการทำงานร่วมกัน Piaget นักจิตวิทยาการเรียนรู้เขาได้นำเอาสิ่งที่ Piaget เรียนรู้มาเป็นพื้นฐานในการคิดและสร้างทฤษฎีทางการศึกษา เขาเชื่อว่า วิธีมองการศึกษาขึ้นอยู่กับวิธีการที่เรามองตัวความรู้และความรู้เป็นสิ่งที่เด็กต้องสร้างขึ้นเอง

                   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ


ที่มา

jintana kujapan.(2012).http://jintana22muk.blogspot.com/2012/07/constructionism.html.[ออนไลน์] 17 กรกฎาคม 2561.

Kanchalita Jalerphon.(2016).https://prezi.com/mdd-q7_icios/presentation/.[ออนไลน์] 17 กรกฎาคม 2561.

นางสาว ชุติมา สดเจริญ.(2013).https://www.gotoknow.org/posts/547007.[ออนไลน์] 17 กรกฎาคม 2561.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น