วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ 5 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม(Cognitivism)




wanthani yeekew (2016)ได้รวมเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ไว้ว่า

               ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา(Cognitivism)   
เพียเจต์ (Piaget) 
               กระบวนการทางสติ ปัญญา เป็นการดูดซับไว้ปรับและจัดระบบให้เกิดโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น ซึ่งต้องสมดุลไม่ขัดแย้ง 
1) จัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยไม่ใช่การบังคับ เมื่อเด็กไม่พร้อมให้อิสระเด็ก มิฉะนั้นอาจเกิดเจตคติทางลบ
2) ให้ความสนใจและสังเกต เด็กจะรู้ลักษณะเฉพาะของเด็ก 3) การสอนภาพรวมก่อนภาพย่อยจะเข้าใจดีกว่า 4) สอนสิ่งที่คุ้นเคยก่อนเสนอสิ่งใหม่ที่สัมพันธ์กับสิ่งเดิมจะจัดระบบความรู้ได้ดี 5) เปิดโอกาสรับประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ เด็กจะดูดซับและส่งเสริมโครงสร้าง ทางปัญญา
บรุนเนอร์ (Brunner) 
              มนุษย์เลือกรับรู้สิ่งที่ตนสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง (Discovery Learning) คิดหาเหตุผลอย่างอิสระช่วยให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประสบผลสาเร็จ การเรียนรู้มี 3ขั้น คือ ขั้นความรู้จากการกระทำ ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ ลงมือกระทำ เกิดความรู้ขั้นความคิด การสร้างมโนภาพได้ และเรียนรู้จากภาพแทนของจริง เป็นในการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
ออซูเบล (Ausubel)
               ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มประมวลสารสนเทศ (Information Processing Theory)ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ(active)และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางพุทธิปัญญาขึ้น เป็นเหตุให้ผู้เรียนปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่ง เกิดความสมดุลทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
                ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning) การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย (Meaningful Reception Learning) ออซูเบล ให้ความหมายว่า เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอนอธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ฟังและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ โดยผู้เรียนเห็ความสัมพันธ์กับโครงสร้าง พุทธิปัญญาที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำและจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต
ดลอสไมเออร์
               ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา  ศาสตราจารย์ อัลเบิร์ต บันดูรา  เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 นักทฤษฎีการเรียนรู้เริ่มตระหนักว่าการที่จะเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์นั้นจะต้องผ่านการพิจารณาไตร่ตรองการคิด (Thinking) เช่นเดียวกับพฤติกรรมและควรเริ่มสร้างแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ในทรรศนะของ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิด(Mental change) มากกว่าการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ซึ่งพุทธิปัญญา (Cognitive) เป็นการให้ความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าภายนอก (ส่งผ่านโดยสื่อต่าง ๆ) กับสิ่งเร้าภายใน ซึ่งได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ หรือ กระบวนการรู้-คิด หรือ กระบวนการคิด (Cognitive process) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการคิด(Cognitive process)
ตัวอย่างสื่อการสอน ที่ใช้แนวคิดแบบพุทธิปัญญา
ตัวอย่างที่ 1
http://caistudio.info/cai/techno/computer/start.swf
ตัวอย่างที่ 2
http://www.caistudio.info/cai/add_2554/6art/online/
               เป็นสื่อที่เน้นกระตุ้นที่สิ่งเร้าในการดึงดูดให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ด้วยตนเอง เช่น CAi
1. กระบวนการความเอาใจใส่ (Attention)กระบวนการความเอาใจใส่ (Attention) ความใส่ใจของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าผู้เรียนไม่มีความใส่ใจการเรียนรู้ก็จะใม่เกิดขึ้น
2. กระบวนการจดจำ (Retention)กระบวนการจดจำ (Retention) ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่ตนเองสังเกตและไปเลียนแบบได้ถึงแม้เวลาจะผ่านไปก็ตามแนวคิดและทฤษฎีบันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ เนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ ผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่าตนเลียนแบบได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ด้วย บันดูรา จึงสรุปว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตจึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา
3.กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง (Reproduction)กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง (Reproduction) เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกมาเป็นการการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ
4.กระบวนการการจูงใจ (Motivation)กระบวนการการจูงใจ (Motivation)แรงจูงใจของผู้เรียนที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบที่ตนสังเกต เนื่องจากความคาดหวังว่าการเลียนแบบจะนำประโยชน์มาให้การทดลอง
คลอสเมียร์ (Klausmeier) 
1. การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2. การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (Software)
3. การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
               คลอสไมเออร์ได้อธิบายกระบวนการประมวลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กัองค์ประกอบ
ประการคือ การรู้จัก(Recognition) และความใส่ใจ(Atention)
1. การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย
(Meaningful Reception Learning)
2. การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง
(Rote Reception Learning)
3.การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย
(Meaningful Discovery Learning)
4. การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง
(Rote Discovery Learning) 



              




Naracha Nong(2016)ได้รวมเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ไว้ว่า
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม
          1.       ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) เน้นกระบวนการ ทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิด กลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์ มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่ เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของ ข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทาและการแก้ปัญหา ต่างๆ ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทา (active) และสร้างความรู้ ซึ่งจิตวิทยาConstructivists มีความเห็นในเรื่องการเรียนรู้หรือการสร้าง ความรู้แบ่งออกเป็น ๒ ทฤษฎี คือ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม
          

           2.       ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active) และสร้างความรู้ ซึ่งจิตวิทยาConstructivists มีความเห็นในเรื่องการเรียนรู้หรือการสร้าง ความรู้แบ่งออกเป็น ๒ ทฤษฎี คือ  Cognitive Constructivism หมายถึงทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญา นิยมที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอา เจต์ทฤษฎีนี้ถือว่า ผู้เขียนเป็นผู้กระทำ (active) และ เป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลทาง พุทธิปัญญาขึ้น เป็นเหตุให้ผู้เรียนปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้า กับข้อมูลข่าวสาร ใหม่จนกระทั่งเกิดความสมดุลทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม(ต่อ)


            3.       Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎี พัฒนาการของวิก็อทสกี้ ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น (ผู้ใหญ่หรือเพื่อน) ในขณะที่ผู้เรียนมี ส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองานในสภาวะสังคม (Social Context) ซึ่ง เป็นตัวแปรที่สาคัญและขาดไม่ได้ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทาให้ ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจ เดิมให้ถูกต้อง หรือซับซ้อนกว้างขวางขึ้น ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม(ต่อ)


           4.       การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้าง ความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สาคัญๆ มี ๕ ทฤษฏี คือ }ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัว มนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่า }ทฤษฎีสนาม (Field Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือ แรงขับที่จะกระทาให้ไปสู่ จุดหมายปลายทางที่ตน ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียน เป็นสิ่งจาเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม(ต่อ)


           5.       ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน ( Tolman) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้คือ การเรียนรู้เกิด จากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมาย ปลายทาง เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุ จุดมุ่งหมายใดๆ โดยใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็น เครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม(ต่อ)


           6.       ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory) นัก คิดคนสาคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ ๒ ท่าน ได้แก่ เพียเจต์(Piaget) และบรุน เนอร์(Bruner) แนว ความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่อง พัฒนาการทางสติปัญญญาของ บุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์ เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและ การเรียนรู้เกิดจากระบวนการการ ค้นพบด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏี นี้ คือ คานึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม(ต่อ)


           7.       ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล(Ausubel) เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มา ก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีการนาเสนอ ความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่อง หนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม(ต่อ)


          8.       ทฤษฎีการเรียนรู้ของบันดูรา (Bandura)


          9.        บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้ โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ เนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่า ตนเลียนแบบได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะต้องควบคุมพฤติกรรมของ ตนเองได้ด้วย บันดูรา จึงสรุปว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตจึงเป็น กระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา แนวคิดและทฤษฎี


         10.   ในห้องเรียนครูจะเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด ครูควรคานึงอยู่เสมอ ว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบจะเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าครูจะ ไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ก็ตาม • การสอนแบบสาธิตปฏิบัติเป็นการสอนโดยใช้หลักการและขั้นตอนของ ทฤษฎีปัญญาสังคมทั้งสิ้น ครูต้องแสดงตัวอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องที่สุด เท่านั้น จึงจะมีประสิทธิภาพในการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ ความ ผิดพลาดของครูแม้ไม่ตั้งใจ ไม่ว่าครูจะพร่าบอกผู้เรียนว่าไม่ต้องสนใจ จดจา แต่ก็ผ่านการสังเกตและการรับรู้ของผู้เรียนไปแล้ว การนาทฤษฎีมาประยุกต์ในการเรียนการสอน


         11.    เน้นความสาคัญของการเรียนรู้แบบการสังเกตหรือเลียนแบบจาก ตัวแบบ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริง ๆ เช่น ครู เพื่อน หรือจาก ภาพยนตร์โทรทัศน์ การ์ตูน การเรียนรู้โดยการสังเกตประกอบด้วย ๒ ขั้น คือ ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางพุทธิปัญญา และ ขั้นการกระทา ตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมีทั้งตัวแบบ ในชีวิตจริงและตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์












Shanita nid junjan(2012)ได้รวมเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ไว้ว่า


               ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)  เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ  


-   ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา  คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้


-   ทฤษฎีสนาม(Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน “โลก” ของผู้เรียน  การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้


-   ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory)  ของทอลแมน(Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ  โดยใช้เครื่องหมาย  สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย


-   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น  ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ  ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน


-   ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย


      ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ 

การวางแผน  ความตั้งใจ  ความคิด  ความจำ  การคัดเลือก  การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ  ที่ได้จากประสบการณ์





สรุป
              ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์ มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ  
1. ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ 
2. ทฤษฎีสนาม(Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory)  ของทอลแมน(Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง
5. ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน


ที่มา

wanthani yeekew.(2016).https://prezi.com/ix-c7aiv-rnn/cognitivism/.[ออนไลน์] 10 กรกฎาคม 2561.


Naracha Nong.(2016).https://www.slideshare.net/NarachaNong/ss-61002894.[ออนไลน์] 10 กรกฎาคม 2561.

Shanita nid junjan.(2012).https://www.gotoknow.org/posts/398572.[ออนไลน์] 10 กรกฎาคม 2561.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น